TCAS คือ ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ซึ่งย่อมาจาก Thai University Central Admission System ไม่ใช่ระบบเอ็นทรานซ์ แต่เป็นการรวมวิธีการรับนักศึกษาทั้ง 5 รูปแบบมาไว้ด้วยกัน สามารถติดตามและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการ http://TCAS61.cupt.net
รายละเอียดการคัดเลือก TCAS ทั้ง 5 รอบ
รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
สำหรับ : นักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย
ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค โควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษ
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น : GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ
ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามทีมหาวิทยาลัยกำหนด
การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) ซึ่งที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง
รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนปีที่ผ่านมา)
รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัย
ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
สำหรับน้องๆ ที่จบหลักสูตรจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จบการศึกษาจากต่างประเทศ ทางกระทรวงศึกษาธิการประกาศแล้วว่าไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา สามารถสมัครเรียนต่อตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้
สำหรับน้องๆ หลักสูตรนานาชาติหรือจบจากต่างประเทศ สามารถสมัครสอบเข้าได้ 3 รูปแบบ คือ
ในรอบที่ 1 แบบที่ไม่มีการสอบเพิ่มเติม : อาจเป็นการยื่นคะแนนทางวิชาการ IELTS, TOEFL, SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 ได้ โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 4 ได้ แต่ต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด
GAT คือ การวัดความถนัดทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ พาร์ทภาษาไทย หรือที่เรียกว่าพาร์ทเชื่อมโยง จะวัดเรื่องความสามารในการอ่านและวิเคราะห์ อีกพาร์ทนึงเป็นภาษาอังกฤษ ก็วัดความสามารถทางภาษาอังกฤษค่ะ รวมกันสองพาร์ทนี้ 300 คะแนน
PAT คือ วิชาสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ แบ่งออกเป็นหลายวิชา วัดศักยภาพตามกลุ่มวิชาชีพ คือ
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มเกษตร-วนศาสตร์ กลุ่มบริหาร-บัญชี เศรษฐศาสตร์ กลุ่มมนุษยฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์ (ยื่นคะแนนรูปแบบที่1)
PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มการโรงแรมและท่องเที่ยว(ยื่นคะแนนรูปแบบที่2) กลุ่มมนุษยฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์(ยื่นคะแนนพื้นฐานศิลป์ รูปแบบ2)
รูปแบบและตัวอย่างข้อสอบ GAT/PAT
1. ปรนัย
ปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คําตอบที่ถูกที่สุด (4 ตัวเลือก 1 คําตอบ)
ปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 2 คําตอบที่ถูกต้อง (4 ตัวเลือก 2 คําตอบ)
ปรนัย 5 ตัวเลือก เลือก 1 คําตอบที่ถูกที่สุด (5 ตัวเลือก 1 คําตอบ)
ปรนัย 5 ตัวเลือก เลือก 2 คําตอบที่ถูกต้อง ( 5 ตัวเลือก 2 คําตอบ)
ปรนัย 6 ตัวเลือก เลือก 1 คําตอบที่ถูกที่สุด (6 ตัวเลือก 1 คําตอบ)
2. แบบเลือกคําตอบจากแต่ละหมวดที่มีความสัมพันธ์กัน
3. แบบระบายคาตอบที่เป็นค่า /ตัวเลข
4. แบบอัตนัย ตรวจด้วยคน ให้ทําในกระดาษคําตอบที่จดไว้ให้ 1 แผ่น
เกณฑ์การให้คะแนน
ความชัดเจนในการสื่อความหมาย
ความน่าสนใจและความสวยงามในการจัดองค์ประกอบ
ความเรียบง่ายของเส้นสายและรายละเอียด
ความประณีต สะอาดและครบถ้วนสมบูรณ
บทความให้อ่าน +ปรนัยแบบกลุ่มคําตอบสัมพันธ์กัน หลายกลุ่ม หลายตัวเลือก
คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 51 มาตรฐานการเรียนรู้ ครอบคลุม 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
5. ภาษาอังกฤษ
วัตถุประสงค์ O-NET
1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจบการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
3. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
4. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
5. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น
คือ ข้อสอบมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงหลักสูตรอินเตอร์ในเมืองไทยใช้ประกอบการสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรี เหมือนกับการแอดมิชชั่นของเรา เพียงแต่ไม่ได้วัดที่ความรู้วิชาต่างๆ แต่เป็นการวัดทักษะ (Skills) การใช้เหตุผล เหมือนข้อสอบความถนัดทั่วไป
ส่วนประกอบของ SAT
ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนได้แก่
Critical Reading
Mathematics
Writing
โดยแต่ละส่วนจะมีคะแนนตั้งแต่ 200-800 คะแนน ทำให้คะแนนเต็มรวมคือ 2,400 คะแนน นอกจากนี้ยังให้รายละเอียดคะแนนย่อยในส่วน Writing อีก 2 ส่วนย่อยคือ ส่วน error 20-80 คะแนน และเรียงความ 2-12 คะแนน เวลาที่ใช้ในการสอบคือ 3 ชั่วโมง 45 นาที โดยมีช่วงพักสั้นๆ ระหว่างการทำแต่ละส่วนให้
Critical Reading คือส่วนการอ่านเชิงวิเคราะห์ ประกอบไปด้วยการอ่านบทความสั้นๆ แล้วตอบคำถาม (passage) ซึ่งเนื้อหาครอบคลุมทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวรรณกรรม และการเติมประโยคให้สมบูรณ์ โดยทักษะที่น้องๆ ต้องใช้คือการหาใจความสำคัญและข้อความสนับสนุน ความเข้าใจความหมายของศัพท์บางคำในแต่ละบริบท เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้เขียน เข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของแต่ละประโยค
Mathematics คือส่วนคณิตศาสตร์ มีข้อสอบสองแบบคือเลือกคำตอบที่ถูกต้อง และเขียนคำตอบเอง โดยเป็นเนื้อหาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และการแปลความหมายของกราฟ ตารางหรือชาร์ต โดยทั้งหมดจะครอบคลุมเนื้อหาหลัก 4 บทเรียนคือ ตัวเลขและการคำนวณ พีชคณิตและฟังก์ชั่น ตรีโกณมิติและการชั่งตวงวัด การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และความน่าจะเป็น
Writing คือส่วนการเขียน มี 2 ประเภทคือการเขียนเรียงความ และเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งประกอบไปด้วย การหาจุดที่ผิดในประโยค (errors) การเปรียบเทียบและเลือกข้อเขียนที่ดีที่สุด และการปรับปรุงข้อเขียนสั้นๆ ให้ดีขึ้น นอกจากนี้ SAT ยังมีข้อสอบอีกส่วนหนึ่งที่ไม่นำมาคิดคะแนน ข้อสอบส่วนนี้คือว่าที่ข้อสอบ SAT ในอนาคตที่ College Board (ผู้ออก SAT) ต้องการทดสอบดูว่าเหมาะสมเอามาใช้จริงหรือไม่ โดยจะเป็นข้อสอบจากการอ่าน คณิตศาสตร์หรือการเขียนก็ได้ แต่เป็นข้อสอบตัวเลือก ให้เวลาทำ 25 นาที
คือ แบบทดสอบวัดความถนัด Chulalongkorn University Academic Aptitude Test สำหรับผู้ประสงค์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาิติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบทดสอบฉบับนี้ใช้วัดความถนัดโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. Math Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ในเรื่องต่อไปนี้
Arithmetic
Algebra
Geometry
Problem solving
2. Verbal Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านภาษาในเรื่องต่อไปนี้
Understanding how the different parts of a sentence fit logically together
Finding the meaning of vocabulay in context
Identifying sentence errors
Improving sentences and paragraphs.
แบบทดสอบส่วนนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อย ดังนี้
1. The Critical Reading Section
Sentence Completion
Passage-based Reading
2. The Writing Section
Improving Sentences
Identifying Sentence Errors
Improving Paragraphs
คือ ข้อสอบทางถนัดทางวิทยาศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อเข้าเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ (Inter) โดยเปิดให้สอบใน 2 แขนงวิชาด้วยกัน คือ วิชา Physics และ Chemistry
CU-ATS Physics
1. Vector
2. Kinematic
3. Newton’s Law
4. Work, Energy and Power
5. Linear Motion
6. Rotational Motion
7. Newton’s Law of Gravitation
8. Oscillations
9. Thermal Physics
10. Electric Force and Fields
11. Electric Potential and Capacitor
12. Direct Current Circuits
13. Magnetic Force and Fields
14. Electromagnetic Induction
15. Waves
16. Optics
17. Modern Physics
18. Practice Test
CU-ATS Chemistry
1. Matter and Energy
2. Phase of Matter
3. Atomic Structure
4. Periodic Table and Periodic Trends
5. Bonding
6. Stoichiometry and Solution Chemistry
7. Energy and Chemical Reaction
8. Reaction Rates and Chemical Equilibrium
9. Acids and Bases
10. Redox and Electrochemistry
11. Organic Chemistry
12. Nuclear Chemistry
13. Laboratory Skills
14. Practice Test
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ CU-ATS
1. ข้อสอบ CU-ATS เป็นข้อสอบแบบตัวเลือกทั้งหมด แนวข้อสอบของส่วน Physics หลังปรับปรุงใหม่จะไม่คล้ายกับ SAT Subject test Physics เท่าไหร่ เพราะได้มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นข้อสอบที่เน้นคำนวน และลดจำนวนลงเหลือเพียง 30ข้อเท่านั้น ในส่วนของ Chemistry สามารถใช้หนังสือร่วมกันได้ กับ SAT Subject test Chemistry
2. ข้อสอบ CU-ATS นั้นมีการเปิดให้สอบ 3 ครั้งต่อปี และสามารถเก็บคะแนนไว้ใช้ได้เป็นเวลา 2 ปี
3. ถ้าตอบผิดจะถูกหักคะแนนข้อละ 0.25 เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้จริงๆแนะนำให้เว้นไว้ดีกว่า
คือ การสอบความถนัดทางธุรกิจแนว GMATสำหรับใช้เป็นหลักฐานในการสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรต่างๆในระดับปริญญาโท/เอก ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ "CU-BEST" เป็นข้อสอบคำถามภาษาไทย สำหรับใช้เพื่อการสมัครในโปรแกรมที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย และ "CU-BEST(English)" เป็นข้อสอบคำถามภาษาอังกฤษ สำหรับใช้เพื่อการสมัครในโปรแกรมที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
หลักสูตรที่ต้องใช้คะแนน CU-BEST ในการยื่นสมัคร
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต นักบริหารระดับต้น
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขา การจัดการการบิน
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขา การจัดการโรงพยาบาล
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการตลาด
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการด้านโลจิสติกส์
หลักสูตรบัญชีดุษฏีบัณฺฑิต
ความถนัดทางธุรกิจแนว GMAT สำหรับใช้ในการสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ในระดับปริญญาโท/เอก ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
* สำหรับหลักสูตร MBA English Program จะต้องใช้ CU-BEST (English) เท่านั้น หลักสูตรฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิทธิ์สอบและไม่คืนค่าสมัคร หากผู้สมัครไม่ดาเนินการสมัครตามขั้นตอน หรือชาระเงินค่าสอบล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด !!!!!
- ค่าสมัครสอบ CU-BEST (ไทย) 500 บาท
- ค่าสมัครสอบ CU-BEST (Eng) 1,000 บาท
เนื้อหาข้อสอบประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่
คำถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์ธุรกิจ จำนวน50% และคณิตศาสตร์ จำนวน50%
การสอบ CU-BEST ดำเนินการโดยศูนย์ทดสอบฯ เปิดให้มีการจัดสอบปีละ 4 ครั้งสำหรับ CU-BEST ภาษาไทย และ 2 ครั้งสำหรับ CU-BEST(English)
หลังจากการสอบแล้ว คะแนนสอบจะมีอายุ 2 ปีเพื่อให้ผู้สมัครได้ใช้ผลสอบเพื่อยื่นสมัครในครั้งถัดไปได้ (แต่ต้องไม่เกินกำหนดเวลาดังกล่าว)
CU-BEST ประกอบไปด้วย 3 ส่วน
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาทางธุรกิจ จำนวน 40 ข้อ
ส่วนที่ 1 บทความสั้น Critical Reasoning จำนวน 25-30 ข้อ
ส่วนที่ 2 บทความยาวประมาณ 1 – 2 หน้าจำนวน 5 บทความรวม จำนวน 10 กว่าข้อ
ตอนที่ 2 คณิตศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 การใช้เหตุผล วิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ให้มาเพียงพอหรือไม่
ส่วนที่ 2 คณิตศาสตร์ทั่วไปเป็นแบบตัวเลือกที่ต้องหาคำตอบที่ถูกต้อง
ส่วนที่ 3 การอ่านตาราง กราฟ และแผนภูมิ ง่ายๆ ค่ะ
ตอนที่ 3 ทักษะเชาว์ปัญญา จำนวน 20 ข้อ
ให้เลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวในกระดาษคำตอบ หลักเกณฑ์การให้คะแนน ทำถูกต้องได้ข้อละ 5 คะแนนทำผิดหักข้อละ 2 คะแนน ไม่ตอบได้คะแนน 0 คะแนน ตอบมากกว่า 1 ข้อถูกหัก 5 คะแนน วัตถุประสงค์คือการอ่านจับใจความ ไม่ว่าจะสอบเวอร์ชั่นไทยหรืออังกฤษก็จะมี 20 ข้อเหมือนกันค่ะ
แหล่งข้อมูล: http://www.mbachula.info/cu-best, http://www.vcharkarn.com/varticle/43372
ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียน สำหรับศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในหลักสูตรของสหราชอาณาจักรสำหรับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 16-18 ปี โดยเป็นหลักสูตรที่ต่อยอดจากหลักสูตร IGCSE หรือ GCE
A-Level ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่คือ
1. AS Examination(Advanced Subsidiary) โดยทั่วไปคือการเรียนในช่วง Year 12
2. A2 Examination โดยทั่วไปคือการเรียนในช่วง Year 13
ในกรณีที่นักเรียนเลือกเรียนเฉพาะ AS จะได้ Credit เท่ากับกึ่งหนึ่งของ A-Level โดยนักเรียนส่วนมากเรียน AS 4 วิชาและ A2 3 วิชา เนื่องจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศส่วนใหญ่ต้องการผลสอบ A2 3 วิชาเป็นอย่างน้อย (ในไทย ต้องการอย่างน้อย AS 3 วิชาขึ้นไป) การที่จะสอบให้ผ่านในหลักสูตร
A-Level ผู้สอบต้องนำผลการศึกษาที่สอบผ่าน 3 วิชารวมกับผล IGCSE 5 วิชา ไปขอเทียบวุฒิการศึกษาและยื่นสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้โดยจะนำผลที่ได้ ไปยื่นศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
รายวิชาในหลักสูตร
A-Level มีรายวิชาให้เลือกสอบจาก 5 กลุ่มวิชา อันประกอบไปด้วย
1. กลุ่มวิชาภาษา (Language)
2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities & Social Science)
3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (Science)
4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
5. กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ (Creative, Technical and Vocational)
หน่วยงานจัดสอบ A-Level ในประเทศไทย
โรงเรียนนานาชาติที่สอนโดยใช้ระบบอังกฤษแต่ละแห่ง โดยทำการเปิดสอบสำหรับนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนของตนเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หากบุคคลภายนอกต้องการสอบ A-Level บางโรงเรียนก็ยินดีเปิดโอกาสให้เข้าสอบได้ ที่รู้จักกันดีได้แก่ Harrow International School และในปี 2560 นั้น British Council ก็รับสมัครสอบ AS และ A-Level สำหรับบุคคลทั่วไปด้วย
คือ การสอบกลางที่ออกโดย สทศ. ไว้ใช้สำหรับยื่นผลคะแนนสมัครในรูปแบบรับตรงเท่านั้น โดยประกอบไปด้วย 9 วิชา
จำนวนข้อสอบวิชาสามัญ 9 วิชา
ภาษาไทย | จำนวนข้อ 50 | เต็ม 100 |
สังคมศึกษา | จำนวนข้อ 50 | เต็ม 100 |
อังกฤษ | จำนวนข้อ 80 | เต็ม 100 |
คณิตศาสตร์ 1 (พื้นฐาน + เพิ่มเติม) | จำนวนข้อ 30 | เต็ม 100 |
ฟิสิกส์ | จำนวนข้อ 25 | เต็ม 100 |
เคมี | จำนวนข้อ 50 | เต็ม 100 |
ชีววิทยา | จำนวนข้อ 80 | เต็ม 100 |
คณิตศาสตร์ 2 (พื้นฐาน) | จำนวนข้อ 30 | เต็ม 100 |
วิทยาศาสตร์ทั่วไป | จำนวนข้อ 50 | เต็ม 100 |
ทุกวิชา ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ
ต้องสอบทุกวิชาหรือไม่?
คำตอบ คือ ขึ้นอยู่กับน้องๆ ว่าสนใจจะสมัครผ่านรูปแบบไหน และสาขา/คณะ/มหาวิทยาลัยนั้นใช้คะแนนสอบอะไรบ้างเป็นเกณฑ์ อาจจะลองหาข้อมูลตามสื่อต่างๆเพื่อเป็นแนวทางว่าน้องๆจะต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง เช่น
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
เว็บไซต์ของหน่วยงานทางการศึกษา
เว็บไซต์ข่าวสารการศึกษา
สอบถามรุ่นพี่, ครูแนะแนว
9 วิชาสามัญ ใช้ใน TCAS รอบไหนบ้าง
รอบที่ 2 โควตาที่มีการสอบ
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
คล้ายๆ เป็นการสอบเทียบวุฒิ ม.6 ในบ้านเรานั่นเอง แต่เป็นวุฒิการศึกษาสัญชาติอเมริกัน ซึ่งน้องๆสามารถสมัครสอบได้ตลอดเวลา และสามารถ ไปเทียบวุฒิ ม.6 ได้ที่กระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นน้องๆ สามารถไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติที่เปิดรับ GED ได้ต่อไป นั่นหมายความว่าผู้ที่ผ่านการสอบ GED จะมีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าการเรียนจบม.6 ในไทยและยังมีสิทธิสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
GED มีสอบทั้งหมด 4 วิชา ดังนี้
Reasoning Through Language Arts (RLA) (65 raw score points)
Mathematics Reasoning (49 raw score points)
Social Studies (30 raw score points)
Science (40 raw score points)
การให้คะแนนจะวัดจากคะแนน (raw score) ที่ได้ก่อนแล้วจึงค่อยแปลงเป็น scaled score เริ่มต้นตั้งแต่ 100-200 คะแนน
เกณฑ์การผ่านแต่ละวิชา จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 145 จากคะแนนเต็ม 200
ข้อสอบ เป็นแบบ Multiple Choice เป็นส่วนใหญ่ มี เติมคำ จับคู่ และเขียน Essay
ค่าสอบ GED คือวิชาละ $60
เมื่อสอบผ่านจะได้เอกสาร 2 อย่างคือ Transcript และ Diploma ซึ่งต้องนำเอกสารทั้งสองนี้ไปใช้สมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องนำไปเทียบวุฒิ
เกณฑ์ผู้เข้าสอบ GED
ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
สำหรับผู้ที่อายุ 16-17 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน โดยทำหนังสือยินยอม (Consent Form) และส่งไปยัง GED Testing Service เพื่อขอเข้าสอบ
GED Diploma ออกโดยรัฐใด
หน่วยงานที่ออกเอกสาร GED ให้สำหรับผู้ที่สอบนอกประเทศสหรัฐอเมริกา คือ Government of the District of Columbia (Washington, D.C.) ประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณลักษณะของผู้สอบ GED มีดังนี้
น้องๆเป็นนักเรียน Home School
เข้าโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Student) เช่น ไปแลกเปลี่ยนขณะเรียนอยู่ ชั้น ม.4 เมื่อกลับมาจึงต้องการเรียนต่อระดับม.5 แต่โรงเรียนไม่อนุญาต หรือ ผู้เรียนไม่อยากไปเรียนรวมกับน้องๆ จึงเลือกสอบ GED แทน เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย
จบ High School จากต่างประเทศ แต่ว่า ไม่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องด้วยเหตุผลบางประการ กระทรวงศึกษาธิการจึงไม่รับเทียบวุฒิให้ (เช่น จำนวนหน่วยกิต มีจำนวนน้อยกว่า ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด)
จบจากโรงเรียนนานาชาติในไทยแต่กระทรวงศึกษาธิการไม่รับรองคุณวุฒิ
ต้องการสอบ GED เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยก่อนเพื่อนๆ (มีทั้งนักเรียนจากโรงเรียนไทยและนานาชาติ) เพราะการสอบ GED หมายถึงจบระดับชั้นม.ปลาย ดังนั้นในกรณีของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรภาษาไทย นักเรียนที่สอบผ่าน GED จึงมีสิทธิสอบข้อสอบต่างๆที่ “สงวนสิทธิ” ให้กับนักเรียนม.6 เท่านั้น เช่น GAT/ PAT/ 9 วิชาสามัญ/ O-NET/ ข้อสอบ admission ต่างๆ
การสมัครสอบ GED
สมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ www.ged.com เพื่อเข้าสร้าง Account จากนั้นจึงสามารถจัดตารางสอบได้
สถานที่สอบ GED ในประเทศไทย
The Enterprise Resources Training Co.Ltd. ชั้น 3 อาคารชาญอิสสระ 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 718 1599
Pearson Professional Centers-Bangkok, Thailand ชั้น 10 อาคาร Bangkok Business ถนนอโศก กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 664 3563
Movaci Technology 420/11-13 ถนนช้างคลาน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ. เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053 920 555
Thabyay Education อ.แม่สอด จ.ตาก
Phuket Academic Language School 66/19 ถนนวิชิตสงคราม อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต