คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ เนื้อหาของข้อสอบ MU-ELT ถูกออกแบบมาเพื่อวัดทักษะการฟังและอ่านในชีวิตประจำวัน ในบริบทต่างๆ
ผลสอบ MU-ELT
สามารถนำมาแสดงเพื่อใช้ในการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสามารถใช้เพื่อบรรจุเข้าเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนตำแหน่งงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ผลสอบ MU-ELT แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับระดับ B2 และ C1 ของ “กรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษา จากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป” หรือ CEFR (Common European Framework of Reference for Languages)
ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ : 400 บาท
ข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Listening และ Reading
ส่วนที่ 1 (Listening Section) มี 75 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ตอน
Part 1 จะได้ยินคำถามหรือบทความ พร้อมกับจะได้ยินคำตอบ 4 ตัวเลือก ให้พิจารณาว่าคำตอบว่าข้อไหนเหมาะสมที่สุดสำหรับคำถามนั้นๆ (30 ข้อ)
Part 2 บทสนทนาแบบสั้น มีทั้งหมด 4 บทสนทนา ในแต่ละบทสนทนาจะต้องใช้ตอบคำถาม 3 ข้อ (รวม 12 ข้อ) บทสนทนาจะไม่ปรากฏอยู่บนข้อสอบ แต่ในข้อสอบจะปรากฏคำถามและตัวเลือกให้
Part 3 บทสนทนาแบบยาว มีทั้งหมด 4 บทสนทนา ในแต่ละบทสนทนาจะต้องใช้ตอบคำถาม 3 ข้อ (รวม 12 ข้อ) บทสนทนาจะไม่ปรากฏอยู่บนข้อสอบ แต่ในข้อสอบจะปรากฏคำถามและตัวเลือกให้
Part 4 การเล่าเรื่องราวโดยบุคคลเพียง 1 คน จะประกอบไปด้วยทั้งหมด 7 เรื่อง และแต่ละเรื่องจะต้องใช้ในการตอบคำถาม 3 ข้อ ดังนั้นในตอนนี้จะมีคำถามทั้งหมด รวม 21 ข้อ บทสนทนาจะไม่ปรากฏอยู่บนข้อสอบ แต่ในข้อสอบจะปรากฏคำถามและตัวเลือกให้
ส่วนที่ 2 (Reading Section) มี 75 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ตอนสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Part 5 Grammar (25 ข้อ)
Part 6 Vocabulary (15 ข้อ)
Part 7 Short Reading Passages (5 Reading Sets) (15 ข้อ)
Part 8 Long Reading Passages (4 Reading Sets) (20 ข้อ)
นักศึกษามหิดลจะต้องมีคะแนน MU-ELT อย่างน้อย 84 คะแนนขึ้นไปจึงจะสำเร็จการศึกษา
คือ การทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา เหมาะสำหรับวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา โดยจะเป็นการวัดทักษะด้านการฟัง อ่าน เขียน
ภาพรวมของการสอบ CU-TEP
การฟัง 30 ข้อ ระยะเวลา 30 นาที
การอ่าน 60 ข้อ ระยะเวลา 70 นาที
การเขียน 30 ข้อ ระยะเวลา 30 นาที
- คะแนนเต็ม 120 คะแนน
- ผลการสอบมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ทำการสอบ
- ผู้สมัครสามารถตรวจสอบผลการสอบผ่านระบบออนไลน์ได้หลังจากทำการสอบ 2 สัปดาห์
- ช่วงรอยต่อของแต่ละพาร์ท จะใช้เวลา 10 นาที
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 900 บาท
คือการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ TU-GET เป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ ผู้ประสงค์จะทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อทราบระดับความสามารถของตนเอง ลักษณะและจำนวนข้อสอบ
ข้อสอบ TU-GET แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ความรู้ทางไวยากรณ์ (Grammar) 25 ข้อ 250 คะแนน
1.1 Sentence Completion ( การเติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์)
1.2 Error Identification ( การบ่งชี้ว่าข้อเลือกใดเป็นข้อที่ผิดกฎทางไวยากรณ์)
ตอนที่ 2 ความรู้ทางด้านศัพท์ ( Vocabulary) 25 ข้อ 250 คะแนน
2.1 ข้อสอบแบบ Cloze เป็นข้อสอบที่เว้นช่องว่างไว้ให้เติมคำศัพท์ที่ถูกต้องโดยเลือกจากคำศัพท์ที่กำหนดให้
2.2 ข้อสอบที่มีการขีดเส้นใต้คำในประโยคและให้เลือกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับกลุ่มคำที่กำหนดให้
ตอนที่ 3 การอ่านเพื่อความเข้าใจ ( Reading Comprehension) 50 ข้อ 500 คะแนน
เป็นการวัดทักษะการอ่านหลายๆ ด้าน เช่น main idea, detail information, pronoun reference, inference และ conclusion เป็นต้น
รวมทั้งสิ้น 100 ข้อ คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน
คือ แบบทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษ สำหรับประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ซึ่งเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษสากลที่มีสถิติของการใช้ในการสมัครงานมากที่สุดแบบ หนึ่งของโลก ทั้งนี้ เนื่องมาจาก การสอบ TOEIC เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถ ตั้งแต่ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ ในระดับเริ่มต้น จนถึงผู้ที่ใช้ ภาษาอังกฤษได้ในระดับใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา
TOEIC จัดทำขึ้นโดยสถาบัน Educational Testing Service (ETS) ที่เมืองพริ้นส์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกว่า เป็นองค์กรชั้นนำในด้านกรพัฒนาแบบทดสอบต่าง ๆ เช่น TOEFL, GMAT, GRE, SAT เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยนั้น มีหลายหน่วยงานและสถาบันต่างๆมากมายที่ต้องการผล TOEIC เช่น ธุรกิจการบิน การโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่ง สถาบันการเงิน ปิโตรเคมี ยานยนต์ โรงพยาบาล รวมทั้งบริษัทข้ามชาติอื่นๆ โดยนำไปใช้ในด้านต่างๆ เช่น สำหรับพิจารณาทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อรับสมัครเข้าทำงาน ปรับเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง คัดเลือกเพื่อไปอบรมสัมนาต่างประเทศ เป็นต้น
วัดความสามารถทางด้าน Passive Skill จึงมีอยู่ 2 ส่วนคือ แบบทดสอบ การฟัง และการอ่าน และทักษะความสามารถ ในการใช้ ภาษาอังกฤษมาใช้งานจริง (Proficiency) แต่ในปัจจุบันได้มีการเพิ่มแบบทดสอบด้านการพูดและการเขียนเข้ามาด้วย ทำให้ปัจจุบัน TOEIC มีการสอบสองรูปแบบคือ
1. Classic TOEIC Test Administration (TOEIC Listening and Reading Test) การฟังและการอ่าน
2. Redesigned TOEIC Test Administration (TOEIC Speaking and Writing Tests) การพูดและการเขียน เริ่มใช้เดือนเมษายน 2551
ข้อสอบ Classic TOEIC จะประกอบด้วยคำถาม 200 ข้อ แบ่งเป็น
1. การฟัง (Listening Comprehension) มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 45 นาที ผู้เข้าสอบจะได้ฟังคำถาม และการสนทนาสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษ แล้วตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยิน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย ดังนี้
Part 1: Photographs 10 ข้อ
Part 2: Question-Response 30 ข้อ
Part 3: Conversations 30 ข้อ
Part 4: Short Talks 30 ข้อ
2. การอ่าน (Reading Comprehension) มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 75 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ดังนี้
Part 5: Incomplete Sentences 40 ข้อ
Part 6: Text Completion 12 ข้อ
Part 7: Reading Comprehension 48 ข้อ
ระยะเวลาในการทดสอบประมาณ 2 ชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมงครึ่งขึ้นอยู่กับการสอบแต่ละครั้ง โดยมีคะแนนเต็ม 990 คะแนน ซึ่งผลคะแนนจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ภาษาของผู้สอบและมีอายุการ ใช้งานได้ 2 ปีนับจากวันที่สอบ
คะแนน TOEIC เริ่มจาก 10 คะแนนถึง 990 คะแนน โดยแบ่งคะแนนการฟังเป็น 5-495 คะแนนและ การอ่าน 5-495 คะแนน
คือ การทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกัน ซึ่งมีการออกแบบสำหรับใช้ในการประเมินความสามารถทางภาษาของผู้สมัคร เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในเรื่องของการศึกษาต่อ หรือทำงานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร โดยผลคะแนนโทเฟลจะใช้ได้เป็นระยะเวลา 2 ปี
เดิม TOEFL ใช้สำหรับการศึกษาต่อเฉพาะในประเทศอเมริกา แต่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมากกว่า 7,000 แห่ง ในกว่า 130 ประเทศ ซึ่งรวมถึงเกือบทุกมหาวิทยาลัยในอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแคนาดา ที่ใช้คะแนน TOEFL สำหรับการรับเข้าเรียน และการให้ทุนการศึกษแล้ว
TOEFL จะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การพูด (Speaking) การฟัง (Listening) การอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing) และในครั้งจะต้องผสมผสานทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการตอบคำถาม โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่งสำหรับการสอบ ซึ่งคุณสามารถเลือกการสอบได้ทั้ง Internet-based Test (iBT) หรือ Paper-based Test (PBT) ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่มีให้ที่ศูนย์ทดสอบ
TOEFL Internet-based Test (iBT) ประเมินความสามารถของคุณในการอ่าน ฟัง พูด และเขียนภาษาอังกฤษและใช้ทักษะเหล่านี้ร่วม กันในชั้นเรียนมหาวิทยาลัย เช่น คุณอาจอ่าน หรือฟังบรรยาย แล้วเขียนหรือพูดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้
TOEFL Paper-based Test (PBT) ประเมินความสามารถของคุณในการอ่าน ฟัง และเขียนภาษาอังกฤษ โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้
การสอบวัดระดับทักษะที่ได้รับความนิยมสำหรับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่มีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ มีองค์กร 9,000 แห่งทั่วโลกที่ยอมรับผลสอบ IELTS รวมถึงมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยมากกว่า 3,000 แห่งในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ยังยอมรับผลสอบ IELTS สำหรับใช้ในการขอวีซ่านักเรียน/นักศึกษาและสำหรับการย้ายถิ่นฐานอีกด้วย
เนื้อหาในการสอบ IELTS ได้รับการพัฒนาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติและมีการวิจัยอย่างครอบคลุมเพื่อให้การสอบมีความยุติธรรมและเป็นกลางสำหรับผู้สมัครทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ภูมิหลัง เพศ วิถีการดำเนินชีวิต หรือสถานที่อยู่
การสอบ IELTS แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. เพื่อการศึกษาต่อ (Academic Modules)
เป็นการทดสอบความพร้อมเพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญาเอก
2. เพื่อการฝึกอบรม (General Training Modules)
สำหรับผู้ที่วางแผนใช้ภาษาเพื่อการฝึกอบรมหรือ ทำงานในต่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อสอบจะใช้วัดความรู้ภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐาน และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศนิวซีแลนด์ หรือประเทศออสเตรเลีย
รายละเอียดการสอบ IELTS ทั้ง 4 ทักษะ
1. การสอบการฟัง (Listening) 30 นาที
ผู้สอบต้องฟังเนื้อเรื่องจากเครื่องเล่น CD ซึ่งเนื้อหาจะประกอบไปด้วยการสนทนา และบทพูด รวมทั้งการออกเสียงผู้สอบจะได้ฟังเทปเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่จะมีเวลาให้ในการอ่านคำถาม และเขียนคำตอบ และในช่วงท้ายจะมีเวลาให้คัดลอกและตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบใน Answer Sheet อีก 10 นาที
2. การสอบการอ่าน (Reading) 60 นาที
มีเนื้อเรื่องให้อ่าน 3 บทความ พร้อมด้วยคำถามที่ต้องปฎิบัติตาม ซึ่งเนื่อหาเหล่านี้ได้มาจากหนังสือ นิตยสาร และ หนังสือพิมพ์ ในทุกๆ เรื่องเป็นเรื่องทั่วไป ไม่ได้เจาะจงเฉพาะทางใดทางหนึ่ง รวมทั้ง 3 บทความ จะมีคำถามทั้งหมดจำนวน 40 ข้อ และให้เวลาทั้งหมด 60 นาที ดังนั้นเวลาในการทำจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณข้อละ 1.5 นาที
3. การสอบการเขียน (Writing) 60 นาที
จะแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง ให้เวลา 60 นาที เรื่องแรก คือการเขียนในลักษณะอธิบายข้อมูลที่ให้มาในรูปแบบกราฟ ตาราง แผนผัง เราจะต้องมีการเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่เด่นๆ โดยที่ต้องเขียนอย่างน้อย 150 คำเป็นอย่างต่ำ เรื่องที่สอง คือ การเขียนเรียงความหรือรายงานอย่างเป็นทางการ และเป็นการแสดงความคิดเห็น การหาทางออก ของปัญหาหรือวิจารณ์หัวข้อที่ให้มา โดยต้องเขียนอย่างน้อย 250 คำ
4. การสอบการพูด (Speaking) 11-14 นาที
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการพูดคุยเรื่องทั่วๆ ไป การใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนที่สอง กรรมการจะมีเวลาให้เตรียมตัวก่อนพูด 1 นาที โดยจะมีบัตรคำถามมาให้ และจะให้เราพูดคนเดียวประมาณ 3-4 นาที และส่วนสุดท้ายจะมีลักษณะคล้ายกับการพูดโต้ตอบกันในหัวข้อที่ได้จากส่วนที่สอง
เกณฑ์คะแนนของแต่ละมหาวิทยาลัย ดูได้ที่ลิ้งค์นี้
https://takeielts.britishcouncil.org/choose-ielts/who-accepts-ielts/recognising-organisations?keyword=&org=80141&state=&loc=189881&bandscore=All&limit=20&order=title&sort=asc
คือการวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง จัดโดยสำนักงานดูแลการสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาที่มีการจัดสอบในประเทศไทย คือ การวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับพื้นฐาน ระดับต้น/กลาง และระดับสูง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 สำนักงานดูแลการสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แต่งตั้งให้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ในโครงการความร่วมมือทางการศึกษากับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง) เป็นผู้รับผิดชอบการจัดสอบ HSK ในเขตภาคตะวันออกของไทย
ประโยชน์ของการสอบ HSK
1. ผู้ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 3 (เทียบเท่า ขั้น A ของระดับพื้นฐานและขั้น C ของระดับต้น/กลาง) ขึ้นไป สามารถเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และ แพทย์ศาสตร์แผนตะวันตกได้ และมีสิทธิที่จะสอบ HSK สาขาธุรกิจ HSK สาขาเลขานุการ และ HSK สาขาการท่องเที่ยว
2. ผู้ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 6 ขึ้นไป สามารถศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในคณะศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์แผนจีน
3. ผู้ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 9 ขึ้นไป สามารถศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในระดับปริญญาโท
4. ผู้ที่ได้รับใบรับรองการสอบ HSK ทั้งระดับพื้นฐาน ระดับต้น/กลาง และสูงนั้น เวลาศึกษาต่อในประเทศจีนสามารถได้รับการยกเว้นเรียนวิชาภาษาจีนในระดับที่เทียบเท่ากับระดับที่สอบผ่านได้ และยังสามารถใช้ใบรับรองนี้รับรองมาตรฐานความรู้ภาษาจีน เวลาสมัครงานได้ทั่วโลก
ค่าสมัครสอบ
HSK ระดับพื้นฐาน คนละ 800 บาท
HSK ระดับ ต้น/ กลาง คนละ 1,000 บาท
HSK ระดับ สูง คนละ 1,600 บาท
การสมัคร
สมัครได้ที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ (แผนกภาษาจีน มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง) 141 ซอยสาทร 13 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร โทร 0-2211-6699 0-2212-5314 แฟกซ์ 0-2675-6174
คือการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่น เพื่อนำผลการสอบไปประกอบการพิจารณาสำหรับการเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นแทนผลการสอบ EJU (Examination for Japanese University Admission) หรือเพื่อประกอบการพิจารณาสำหรับการสมัครงานที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น
จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น การสอบภายในประเทศญี่ปุ่นจัดโดยสมาคมสนับสนุนการศึกษานานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น(JEES) โดยจัดสอบในหลายจังหวัดที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น มูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation) เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสอบ ใน 89 เมืองใหญ่ทั่วโลกรวม 38 ประเทศ ซึ่งในประเทศไทยจัดสอบที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา และขอนแก่น
ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ได้มีการจัดสอบในรูปแบบใหม่ โดยเปลี่ยนจาก 4 ระดับ มาเป็น 5 ระดับ และจัดสอบปีละ 2 ครั้ง ในวันอาทิตย์แรกของเดือนกรกฎาคม และเดือนธันวาคม
**สถานศึกษาบางแห่งรับสมัครนักศึกษาต่างชาติในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตวิทยาลัย โดยพิจารณาจากผลสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น แทนผลสอบเพื่อศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น(EJU)**
รายละเอียดของการสอบและเกณฑ์การสอบวัดผลของแต่ละระดับ
การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
เพิ่มข้อสอบในส่วนของการฟังมากขึ้น เป็น 1 ใน 3 ของข้อสอบทั้งหมด ( จากเดิมคือ 1 ใน 4 )
จะต้องสอบผ่านทุกส่วนจึงจะถือว่าสอบผ่าน แม้ว่าได้คะแนนรวมทุกส่วนถึงเกณฑ์แต่มีส่วนใดส่วนหนึ่งได้คะแนนไม่ถึงก็ถือว่าไม่ผ่าน
การสอบในรูปแบบใหม่จะไม่มีการนำข้อสอบมาเผยแพร่ดังที่เคยปฏิบัติมา เพื่อเป็นการรักษาระดับมาตรฐานการทดสอบ
การสมัครสอบ
สมัครได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นฯ ประมาณช่วงเดือนเมษายน (รอบแรก) และสิงหาคม (รอบสอง) ของทุกปี
คือ การทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลี หรือ TOPIK Test เป็นการสอบเพื่อวัดพื้นฐาน หรือความสามารถทางภาษาเกาหลีของผู้สอบ เพื่อใช้ในการยื่นสมัครเรียน หรือทำงานที่เกาหลีใต้ หรือ สำหรับผู้ที่ เรียนภาษาเกาหลี และต้องการรู้ระดับภาษาของตนเอง
ประเภทของการสอบ TOPIK
1. การทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีทั่วไป (The Standard TOPIK)
เป็นการสอบเพื่อวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาเกาหลีทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน ที่จำเป็นต่อความเข้าใจถึงวัฒนธรรมเกาหลีและการศึกษาต่อเป็นต้น หรือที่ในหมู่นักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีเรียกกันว่าการสอบ “กึบ” นั่นเอง ผู้เข้าสอบสามารถเลือกเข้าสอบตามระดับชั้นที่เหมาะสมกับความสามารถของตนโดยจะมีการเปิดให้สมัครสอบ 3 ช่วงชั้นด้วยกัน คือ ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวในลำดับต่อไป
ระดับการสอบ แบ่งออกเป็น 3 ระดับหลัก และในแต่ละระดับ แบ่งออกเป็นอีก 2 ระดับย่อย รวมแล้วมีทั้งหมด 6 ระดับ
โครงสร้างข้อสอบ แบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 100 คะแนน
เกณฑ์การวัดผล
ผู้สอบจะผ่านในระดับใด พิจารณาจากคะแนน ดังนี้
● ระดับที่ 1, 3 และ 5
ในแต่ละส่วน ต้องได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 50 คะแนน และไม่มีส่วนใดต่ำกว่า 40 คะแนน
● ระดับที่ 2, 4 และ 6
ในแต่ละส่วน ต้องได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 70 คะแนน และไม่มีส่วนใดต่ำกว่า 50 คะแนน
หมายถึง ประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศสขั้นต้นหรือขั้นพื้นฐาน DALF คือตัวย่อของDiplôme Approfondi de langue français หมายถึงประกาศณียบัตรภาษาฝรั่งเศสขั้นสูง ประกาศณียบัตรทั้งสองนี้เป็น "Diplôma" ไม่ใช่ "Certificate" ซึ่งเหมือนใบรับรองวุฒิหรือปริญญา เป็นเอกสารเพื่อรับรองความรู้ภาษาฝรั่งเศสของผู้เรียนต่างชาติที่สามารถสอบผ่านการวัดผลตามเกณฑ์มาตรฐานภาษาต่างประเทศตามกรอบอ้างอิงของสภายุโรป (Cadre européen Commun de référence pour les langues) ที่กำหนดขึ้นโดยสหภาพยุโรป
ประโยชน์ของ DELF A1-A2
1. เป็นการยกระดับการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยให้เป็นมาตรฐานสากลตามมาตรฐานโลก
2. เป็นใบรับประกันความสามารถในการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน เขียน โต้ตอบ เป็นภาษาฝรั่งเศสได้อย่างแท้จริง
3. ผู้เรียนสามารถใช้ประกาศนียบัตรเป็นหลักฐานประกอบการเทียบความรู้สำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (ซึ่งจะต้องเจรจากับมหาวิทยาลัยต่อไป โดยขอใช้ DELF แทนการสอบ A NET หรือแทนการสอบวิชาเฉพาะ)
4. ใช้ประกอบอาชีพ ในการสมัครงานกับบริษัทที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีมากกว่า 350 บริษัทในประเทศไทยผู้ที่มี Dimplôme นี้ ย่อมมีศักดิ์ศรีสูงกว่า และมีโอกาสได้งานง่ายกว่า เป็นที่ยอมรับของนายจ้าง
5. สร้างชื่อเสียงในแก่โรงเรียนที่ผู้เรียนสามารถสอบได้ เพราะเป็นเครื่องหมายยืนยันคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
ผู้ที่สนใจจะวัดระดับความรู้และทักษะทางภาษาของตนเอง สามารถติดต่อเข้ารับการทดสอบได้ที่ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพฯ สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่ สมาคมฝรั่งเศสเชียงราย หรือที่เว็บไซต์ www.alliance-francaise.or.th