ประเภทเครื่องดนตรีสากล
ประเภทเครื่องดนตรีไทย
การสอบวัดระดับพื้นฐานเพื่อสอบเข้า มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ
1. โสตทักษะ (Sight Reading, Ear Training)
คือ การรับรู้ด้วยเสียง การใช้หูในการฟัง มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนดนตรี เพราะการได้ยินคือพื้นฐานสำคัญในการเล่นดนตรี หากนักดนตรีใดมีโสตประสาทการได้ยินที่ดี ย่อมมีโอกาสเป็นนักดนตรีที่มีคุณภาพมากขึ้น
เมื่อมีพื้นฐานของการฟังที่ดีแล้ว การเรียนดนตรีจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ผู้เรียนสามารถฟังและแยกแยะเสียงที่ดีและไม่ดีได้ ทำให้สามารถพัฒนาการเล่นดนตรีอย่างถูกต้องและมีคุณภาพมากขึ้น
ดังนั้นการมีโสตประสาทการรับรู้เรื่องเสียงที่ดี เป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเล่นดนตรีและ ยังสามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อการเล่นดนตรีในระดับที่สูงขึ้นอีกด้วย
หัวข้อที่ต้องสอบในพาร์ทของโสตทักษะ ประกอบด้วย 3 หัวข้อ คือ
1. Sight Singing คือการสอบทางด้าน Rhythmic และ Melodic หมายถึง การอ่านโน้ตทันทีที่เห็น
- Rhythmic คือ การปรบมือตามสัดส่วนโน้ต
- Melodic คือ การร้องตามเสียงโน้ต
2. การฟัง หรือ Ear Training คือ การทดสอบทักษะการฟัง อาทิ การฟังขั้นคู่ Interval, การฟัง 4 Part และอื่นๆ
3. การเขียนโน้ต หรือ Dictation คือ การทดสอบทักษะทางด้าน Rhythmic และ Melodic หมายถึง การเขียนบันทึกโน้ตบนบรรทัด 5 เส้น ตามเสียงดนตรีที่ได้ยิน
2. ทฤษฎีดนตรีสากล (Music Theory)
คือ การวัดระดับความรู้เกี่ยวกับดนตรีเบื้องต้น อาทิ
1. Scales ความรู้เกี่ยวกับการไล่บันไดเสียง Key ต่างๆ เช่น Key Bb Major, Eb Harmonic minor, Ab Melodic minor เป็นต้น
2. Interval ความรู้เกี่ยวกับขั้นคู่ อาทิ Interval คู่ 2nd, 3rd, 4th, 5th เป็นต้น
3. Triad คือ คอร์ดที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง โดยการนำเอาขั้นคู่ 3 จำนวน 2 คู่นำมาวางเรียงซ้อนกันในแนวตั้ง Triad มี 4 ชนิด เช่น การนำขั้นคู่ 3 เมเจอร์และขั้นคู่ 3 ไมเนอร์มาวางซ้อนกัน
4. คำศัพท์และเครื่องหมายทางดนตรี ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆที่ใช้ในการเล่นดนตรีอาทิ Forte, Dolce, Dolente, Crescendo, Decrescendo, Coda และ เครื่องหมายหยุดต่างๆ
5. Analysis คือ การวิเคราะห์ Score โน้ตที่มีความซับซ้อน จะต้องเข้าใจหลักทฤษฎีและวิธีวิเคราะห์ จึงจะสามารถ Analysis ได้อย่างถูกต้อง
*** ในปัจจุบันวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำการสอบ TIME (Thailand International Music Examination) เข้ามาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาต่อ ซึ่งทั้ง 2 หัวข้อเบื้องต้นได้แก่ โสตทักษะ และทฤษฎีดนตรีสากล จะจัดรวมอยู่ในการสอบ TIME ดังนั้นน้องๆจึงต้องศึกษารายละเอียดในการสอบ TIME เพิ่มเติม ดังนี้
TIME (Thailand International Music Examination)
คือ ศูนย์สอบเทียบดนตรีแห่งประเทศไทย หรือ Thailand International Music Examination (TIME) จัดตั้งขึ้นโดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อวัตถุประสงค์ในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาวิชาดนตรีให้กับประเทศไทยและอุษาคเนย์ ในปัจจุบันมีนักเรียนที่เรียนดนตรีในระบบการศึกษาพื้นฐานจำนวนกว่า 10 ล้านคน และผู้ที่เรียนในโรงเรียนสอนดนตรีพิเศษประเภท 15 (2) อีกกว่า 45,000 คน หรือแม้กระทั่งผู้ที่เรียนดนตรีกับครูส่วนตัวที่บ้าน ขาดโอกาสการวัดและประเมินผลการเรียนที่เป็นมาตรฐานอย่างเป็นระบบ เพราะไม่มีองค์กรหรือสถาบันดนตรีใดๆ ที่ได้มาตรฐานทั้งของภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาจัดระบบสอบวัดระดับความสามารถให้กับผู้เรียน จึงส่งผลให้ผู้เรียนไม่ทราบถึงพัฒนาการและระดับชั้นเรียนที่แท้จริงของตนเอง ไม่สามารถพัฒนาความรู้และศักยภาพทางดนตรีได้อย่างถูกทิศทางที่ควรจะเป็น ศูนย์สอบเทียบดนตรีแห่งประเทศไทยจะทำให้ผู้สอน และผู้เรียนทราบระดับมาตรฐานของตนเอง กระตุ้นให้ฝึกหัด และเรียนรู้อย่างถูกต้อง
คุณสมบัติผู้สมัครสอบ TIME
ศูนย์สอบเทียบดนตรีแห่งประเทศไทย (TIME) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เปิดโอกาสให้ผู้ที่เรียนดนตรีทุกวัย ทุกระดับ สามารถเลือกสมัครสอบได้ตามระดับความสามารถของตนเอง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องผ่านระดับใดมาก่อน ทั้งนี้ผู้สมัครต้องมีใบรับรองจากอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้การสอบตรงกับระดับความรู้ของผู้สมัครมากที่สุด กรณีที่ผู้สมัครสอบมีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ต้องมีผู้ปกครองหรืออาจารย์เป็นผู้ดูแลการสมัครสอบ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งหากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ที่เกิดจากตัวผู้สมัครเอง ศูนย์สอบจะไม่รับผิดชอบใดๆ ในข้อผิดพลาดดังกล่าว
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.timemusicexam.com
3. การสอบปฏิบัติเครื่องดนตรี (Music Performance)
คือ การสอบปฏิบัติเครื่องดนตรีที่นักเรียนต้องการใช้ในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นวิชาเอกของนักเรียนต่อไป โดยเครื่องดนตรีที่จะใช้ในการสอบ จะต้องเป็นเครื่องดนตรีที่นักเรียนมีความถนัดและมีประสบการณ์ในการเล่นอย่างชำนาญ การสอบ Music Performance จะต้องสอบที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เท่านั้น
วิธีการทดสอบ
1. สอบปฏิบัติเพลงที่นักเรียนเลือก 3 เพลง โดยการเลือกเพลงขึ้นอยู่กับ แขนงวิชาที่นักเรียนเลือก เช่น ถ้าต้องการเรียนแขนงดนตรีปฏิบัติ เพลงที่เลือกต้องเป็นเพลง Classic หรือ ถ้าเป็นแขนงดนตรี Jazz เพลงที่เลือกต้องเป็นเพลง Jazz
2. สอบโสตทักษะ ที่อาจารย์ผู้คุมสอบเป็นผู้จัดเตรียม จะเป็นการสุ่มชุดตัวโน้ตสำหรับการทดสอบทักษะการอ่านโน้ต ของผู้สมัคร ซึ่งระดับความยากขึ้นอยู่กับแขนงวิชาที่นักเรียนเลือกสอบ
“ติวเตอร์ที่ทางสถาบันจะจัดส่งไปเพื่อติวนักเรียนการสำหรับการสอบเข้า วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นติวเตอร์ที่กำลังศึกษาอยู่และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เท่านั้น ดังนั้นผู้ปกครองจึงสามารถมั่นใจได้ว่าบุคคลเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการติวน้องๆเพื่อการสอบเข้าอย่างแน่นอน อีกทั้งติวเตอร์ทุกคนจะต้องผ่านการทดสอบทักษะการสอน และวัดระดับความรู้กับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง”
Tuition Fee อัตราค่าเรียน สำหรับการปรับพื้นฐานและการติวสอบเข้า
ในการสอบเข้าคณะหรือวิทยาลัยดนตรี อาทิ คณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปากร,สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว. ประสานมิตร, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหาสารคาม ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ
1. โสตทักษะ (Sight Reading, Ear Training)
คือ การรับรู้ด้วยเสียง การใช้หูในการฟัง มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนดนตรี เพราะการได้ยินคือพื้นฐานสำคัญในการเล่นดนตรี หากนักดนตรีใดมีโสตประสาทการได้ยินที่ดี ย่อมมีโอกาสเป็นนักดนตรีที่มีคุณภาพมากขึ้น
เมื่อมีพื้นฐานของการฟังที่ดีแล้ว การเรียนดนตรีจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ผู้เรียนสามารถฟังและแยกแยะเสียงที่ดีและไม่ดีได้ ทำให้สามารถพัฒนาการเล่นดนตรีอย่างถูกต้องและมีคุณภาพมากขึ้น
ดังนั้นการมีโสตประสาทการรับรู้เรื่องเสียงที่ดี เป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเล่นดนตรีและ ยังสามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อการเล่นดนตรีในระดับที่สูงขึ้นอีกด้วย
หัวข้อที่ต้องสอบในพาร์ทของโสตทักษะ ประกอบด้วย 3 หัวข้อ คือ
1. Sight Singing คือการสอบทางด้าน Rhythmic และ Melodic หมายถึง การอ่านโน้ตทันทีที่เห็น
- Rhythmic คือ การปรบมือตามสัดส่วนโน้ต
- Melodic คือ การร้องตามเสียงโน้ต
2. การฟัง หรือ Ear Training คือ การทดสอบทักษะการฟัง อาทิ การฟังขั้นคู่ Interval, การฟัง 4 Part และอื่นๆ
3. การเขียนโน้ต หรือ Dictation คือ การทดสอบทักษะทางด้าน Rhythmic และ Melodic หมายถึง การเขียนบันทึกโน้ตบนบรรทัด 5 เส้น ตามเสียงดนตรีที่ได้ยิน
2. ทฤษฎีดนตรีสากล (Music Theory)
คือ การวัดระดับความรู้เกี่ยวกับดนตรีเบื้องต้น อาทิ
1. Scales ความรู้เกี่ยวกับการไล่บันไดเสียง Key ต่างๆ เช่น Key Bb Major, Eb Harmonic minor, Ab Melodic minor เป็นต้น
2. Interval ความรู้เกี่ยวกับขั้นคู่ อาทิ Interval คู่ 2nd, 3rd, 4th, 5th เป็นต้น
3. Triad คือ คอร์ดที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง โดยการนำเอาขั้นคู่ 3 จำนวน 2 คู่นำมาวางเรียงซ้อนกันในแนวตั้ง Triad มี 4 ชนิด เช่น การนำขั้นคู่ 3 เมเจอร์และขั้นคู่ 3 ไมเนอร์มาวางซ้อนกัน
4. คำศัพท์และเครื่องหมายทางดนตรี ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆที่ใช้ในการเล่นดนตรีอาทิ Forte, Dolce, Dolente, Crescendo, Decrescendo, Coda และ เครื่องหมายหยุดต่างๆ
5. Analysis คือ การวิเคราะห์ Score โน้ตที่มีความซับซ้อน จะต้องเข้าใจหลักทฤษฎีและวิธีวิเคราะห์ จึงจะสามารถ Analysis ได้อย่างถูกต้อง
6. Music History คือ การสอบวัดระดับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ดนตรี อาทิ ยุคสมัยของดนตรี, บุคคลสำคัญ, เหตุการณ์สำคัญ และเพลงที่สำคัญในอดีต
3. การสอบปฏิบัติเครื่องดนตรี (Music Performance)
คือ การสอบปฏิบัติเครื่องดนตรีที่นักเรียนต้องการใช้ในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นวิชาเอกของนักเรียนต่อไป โดยเครื่องดนตรีที่จะใช้ในการสอบ จะต้องเป็นเครื่องดนตรีที่นักเรียนมีความถนัดและมีประสบการณ์ในการเล่นอย่างชำนาญ
วิธีการทดสอบ
1. สอบปฏิบัติเพลงที่นักเรียนเลือก 3 เพลง โดยการเลือกเพลงขึ้นอยู่กับ แขนงวิชาที่นักเรียนเลือก เช่น ถ้าต้องการเรียนแขนงดนตรีปฏิบัติ เพลงที่เลือกต้องเป็นเพลง Classic หรือ ถ้าเป็นแขนงดนตรี Jazz เพลงที่เลือกต้องเป็นเพลง Jazz
2. สอบโสตทักษะ ที่อาจารย์ผู้คุมสอบเป็นผู้จัดเตรียม จะเป็นการสุ่มชุดตัวโน้ตสำหรับการทดสอบทักษะการอ่านโน้ต ของผู้สมัคร ซึ่งระดับความยากขึ้นอยู่กับแขนงวิชาที่นักเรียนเลือกสอบ
มหิดลติวเตอร์โฮม รับสอนดนตรีที่บ้าน เป็นคลาสเรียนเดี่ยวตัวต่อตัว (Private Class) ดังนั้น ทางนักเรียนสามารถซักถามได้ทันที รับสอนดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุ
ผู้ดูแลมีประสบการณ์สอนดนตรีกว่า 10 ปี มีครูสอนเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท อิธิเช่น เปียโน ไวโอลิน ร้องเพลง กีตาร์ เบส กลอง เชลโล ทรัมเปต คาริเนต และอื่นๆ อีกมากมาย
หลักสูตรการเรียนการสอนประกอบด้วย
1. หลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งเพื่อเพิ่มทักษะ และ เพื่อสอบวัดระดับเกรด อาธิเช่น เตรียมสอบ Trinity, ABRSM (Royal), YAMAHA
2. หลักสูตรติวสอบเข้าคณะดุริยางคศิลป์, ดุริยางคศาสตร์, ครุศาสตร์ (ดนตรี) ระดับมหาวิทยาลัย
ติดต่อ หาครูสอนดนตรีที่บ้าน ได้ทาง
โทร : 099-2244-622
Line ID : @mahidoltutorhome